.
ถ้ามีโอกาสได้ไปบ้านบ่อสวกจะได้ลิ้มความหวานจากการเคี่ยวน้ำอ้อยสด ๆไร้การปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง รสและกลิ่นที่สัมผัส เป็นความแตกต่างที่สารสังเคราะห์ทำเลียนให้เนียนได้ยาก การเคี่ยวน้ำอ้อยแบบนี้ ไม่ได้มีทั่วไป ภาคเหนือ เหลือเพียง 2–3 ชุมชน หนึ่งในจำนวนนั้น อยู่ที่ ต.บ่อสวก ซึ่งทำเพียงปีละครั้งเดียว ด้วยอ้อยที่มีเพียงเล็กน้อยและทำกันเป็นบางครอบครัว/p>
ลูกปัดโบราณเหล่านั้นเดินทางผ่านมาทางชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอู่ทองก่อนจะเดินทางผ่านกาลเวลากลายเป็นลูกปัดอู่ทองมรดกทรงคุณค่าของเมืองไทยโดยหลังมีการขุดค้นพบลูกปัดอู่ทอง(จากการบุกเบิกของอ.ชิน อยู่ดี)และถูกเปิดตัวให้โลกรู้จัก ชื่อเสียงของลูกปัดอู่ทองก็โด่งดังไปไกล โดยเฉพาะในช่วงประมาณ พ.ศ. 2510 หรือ เกือบ 50 ปีที่แล้ว/p>
“มะพร้าว” เป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะในวิถีชีวิตของคนไทยได้นำมะพร้าวมาผูกพันกับชีวิตประจำวันมากมายหลายอย่าง นับตั้งแต่การนำมาบริโภคปรุงอาหารคาวหวาน การนำส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวมาใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น พิธีลงเสาเอก พิธีแห่ขันหมาก พิธีบวงสรวง และงานบุญต่าง ๆ ถ้าจะพูดถึงประโยชน์ของมะพร้าวโดยละเอียดเราจะพบว่าทุกส่วนของต้นมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น/p>
ด้วยความไฝ่เรียนรู้ของประธานกลุ่มฯ เห็นว่ามีผลไม้เลียนแบบธรรมชาติที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาดนั้นมีความสวยงาม แต่ราคาค่อนข้างแพง จึงมีความคิดที่จะประดิษฐ์ขึ้นเอง ในราคาย่อมเยาและเมื่อผลิตได้ก็สามารถขายได้ จึงทำให้เกิดกำลังใจที่จะทำอย่างจริงจัง เพื่อเป็นอาชีพใหม่สำหรับตนเองและชุมชน จึงได้รวมกลุ่มกันผลิตขึ้นมา โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้มีการพัฒนารูปแบบ และคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง จนเป็นสินค้าส่งออกและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งทั้งใน และต่างประเทศได้ เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับสมาชิกและคนในชุมชน/p>
จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานด้านสาธารณสุขของคุณจิติมา ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรบำบัด ทำให้เกิดการนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในครัวเรือน ซึ่งวัตถุดิบทุกอย่างมาจากท้องถิ่น ทำให้ผู้ใช้จะรู้สึกผ่อนคลายจากกลิ่นหอมของสมุนไพรนานาชนิด/p>
แรกเริ่มมาจากที่อำเภออู่ทองมีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดเป็นจำนวนมาก และภายหลังจาก อพท. สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มรายได้แก่ชุมชนผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงเกิดการรวมตัวขึ้นของคนภายในชุมชนโดยรวมกันนำสมุนไพรในพื้นที่มาพัฒนาเป็นยาหม่องพื้นบ้าน พร้อมได้พัฒนาบรรจุภัณฑืให้มีความทันสมัย โดยนักท่องเที่ยวสามารถออกแบบลวดลายฝาปิดขวดยาหม่องได้ด้วยตนเองแล้วแต่ความชอบ จึงเป็นกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อีกอย่างนึง/p>
ทดสอบระบบ หกดหกดหกวดาหวกมวหกมแวสหมกวม/p>