.
บ้านน้ำเชี่ยวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไป ขึ้นเรือสู่เกาะช้าง หมู่บ้านน้ำเชี่ยวแห่งนี้ ยังได้เป็นรับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OVC” (OTOP Village Champion) รางวัลอุตสาหรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อคือ งอบน้ำเชี่ยว เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์อันเกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวตราด ที่ได้สืบทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง ใส่เพื่อกันแดดกันฝน หรือตบแต่งบ้านเรือน ปัจจุบันมีการพัฒนารูปทรงที่หลากหลายยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการสวมใส่หรือเป็นของที่ระลึก/p>
เป็นการสืบทอดกรรมวิธีทำเค้กกล้วยหอมจากบรรพบุรษ และนำมาประยุกต์ให้เกิดความเข้มข้นของส่วนผสม เป็นระยะเวลานานกว่า 50 ปี ทำให้มีลูกค้าทั้งขาประจำและขาจร ที่ติดใจสูตรการทำเค้กกล้วยหอมของร้านเบเกอรี่ดีนาน/p>
เป็นภูมิปัญญาสืบทอดกันมาตั้งแต่คุณทวดอพยพมาจากประเทศจีน และได้ถ่ายทอดวิธีการทำเป็ดพะโล้ที่กรอบ โดยนำมีความหอมอร่อย ทำให้ได้รับความนิยมจนเป็นของขึ้นชื่อของชุมชนชากแง้วที่ใครได้มาต้องลิ้มลอง/p>
เป็นการริเริ่มที่พักแบบสัมผัสธรรมชาติของตำบลเขาชีจรรย์ ให้นักท่องเที่ยวสามารถพักผ่อนด้วยความเงียบสงบ ห่างไกลจากความวุ่นวายในเมือง โดยที่เจ้าของบ้านมีความเอาใจใส่เป็นกันเองเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน/p>
ตำบลเขาชีจรรย์ มีการริเริ่มผลิต "น้ำมันหอมระเหย" เพื่อส่งขายในแวดวงสปา & อโรมาเทอราปี ประกอบกับการดูแลสุขภาพที่มีกลิ่นหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้บริการว่าต้องการ "สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหย" ในการดูแลสุขภาพในด้านใดบ้าง/p>
เป็นขนมไทยสมัยใหม่ที่ชาวบ้านในตำบลเขาชีจรรย์ดัดแปลงทำให้มีขนมใหม่เพิ่มหลากหลายมากขึ้น เพื่อเป็นจุดขายอย่างหนึ่งซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับขนมไทย/p>
ชากแง้วหรือชะแง้วในนิราศ สันนิษฐานชื่อนี้มาจากคำว่า 'ชะแง้' เพราะชุมชนชากแง้ว ตั้งอยู่ในที่ลุ่ม มีเนินเขาสูงล้อมรอบทุกทิศ ทำให้เวลามองต้องชะแง้มอง แต่อีกพวกหนึ่งกลับบอกว่าชื่อนี้มาจาก 'ชากงิ้ว' เพราะว่าแถวนั้นมีต้นงิ้วป่าขึ้นเยอะ แต่ก็ออกเสียงเพี้ยนต่อกันมา ด้วยสำเนียงจีนมาเป็นชากแง้ว/p>
แต่เดิมกลุ่มแม่บ้านเขาชีจรรย์ได้มีการจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สอยในครัวเรือนหลังจากนั้นเทศบาลตำบลเขาชีจรรย์ได้เข้ามาพัฒนาสินค้า โดยเชิญวิทยากรที่มีความชำนาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจโดยสร้างอัตลักษณ์ผ่านลวดลายท้องถิ่น/p>