ผลิตภัณฑ์ชุมชน

Community Product&Service

.

ผลิตภัณฑ์ชุมชน

จำนวนทั้งหมด 47 รายการ
กิจกรรมท่องเที่ยว

กิจกรรมท่องเที่ยววิถีชีวิตชาวเล

แหลมกลัดเป็นตำบลในเขตอำเภอเมืองตราด เดิมทีชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า "บ้านซ่องโจร" เนื่องจากมีการปล้น ฆ่า จี้ชิงทรัพย์และเป็นที่หลบซ่อนของโจร ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสจังหวัดตราดเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับ ฝรั่งเศส พระองค์ท่านรับทราบเรื่องนี้ จึงโปรดเกล้าให้หลวงนาวามาเป็นข้าราชบริพารดูแลรักษาความสงบ ประกอบกับบริเวณนี้เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล จึงเรียกชื่อใหม่ว่า”แหลมตรัส” ต่อมาคำพูดเพี้ยนเป็น”แหลมกลัด”จวบจนถึงทุกวันนี้/p>

ตราด
ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พิทักษ์สิ่งแวดล้อม 111 ม.4 ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด 23000
สินค้า

กิจกรรมแหลมกลัด เที่ยว ชิม ช็อป (ผลไม้ตามฤดูกาล)

แหลมกลัดเป็นตำบลในเขตอำเภอเมืองตราด เดิมทีชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า "บ้านซ่องโจร" เนื่องจากมีการปล้น ฆ่า จี้ชิงทรัพย์และเป็นที่หลบซ่อนของโจร ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสจังหวัดตราดเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับ ฝรั่งเศส พระองค์ท่านรับทราบเรื่องนี้ จึงโปรดเกล้าให้หลวงนาวามาเป็นข้าราชบริพารดูแลรักษาความสงบ ประกอบกับบริเวณนี้เป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล จึงเรียกชื่อใหม่ว่า”แหลมตรัส” ต่อมาคำพูดเพี้ยนเป็น”แหลมกลัด”จวบจนถึงทุกวันนี้/p>

ตราด
ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พิทักษ์สิ่งแวดล้อม 111 ม.4 ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด 23000
สินค้า

ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว

เริ่มมาจากแนวคิดของผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ชาวเกาะช้าง ที่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน เหมือนชาวบ้านทั่วไป แต่ด้วยแนวคิดที่อยากจะหาอะไรบ้างอย่างทำเพื่อสร้างเป็นรายได้พิเศษ จึงได้เริ่มตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อหาอาชีพเสริมหารายได้เพิ่มให้ครอบครัวและชาวบ้านก็ได้เล็งเห็นว่า หมู่บ้านสลักเพชรเหนือนั้น มีสวนมะพร้าวเป็นจำนวนมาก จึงเริ่มคิดหาวิธีแปรรูปมะพร้าวพวกนี้มาเป็นของชำร่วย ของฝาก เพราะมะพร้าวมีประโยชน์ทุกส่วน ใบมะพร้าวชาวบ้านก็เอามาเย็บจากมุงหลังคาบาน ก้านก็เอาไปทำไม้กวาด เนื้อก็นำมาประกอบอาหารและตากแห้งขาย หรือเอามาทำเป็นมะพร้าวแก้ว เปลือกของมะพร้าวชาวบ้านก็เอาไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ กะลามะพร้าวก็นำมาเปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ ของฝากที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเกาะช้าง แนวคิดที่ดีบวกการช่วยกันลงมาทำอย่างจริงจังและเป็นขั้นเป็นตอนของชาวบ้าน จึงทำให้เกิดเป็นชุมชนวิสาหกิจบ้านรักกะลา สร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชนชาวบ้านบนเกาะช้างมายาวนานกว่า 10 ปี/p>

ตราด
บ้านรักกะลา 67/5 ม.5 ต.เกาะช้างใต้ อ.เกาะช้าง จ.ตราด 23170
สินค้า

กิจกรรมการท่องเที่ยวบ้านสลักคอก

ผืนน้ำทะเลใสสะอาดเหมือนกระจก ไม่มีขยะให้รกตา นักท่องเที่ยวนั่งเรือมาดชมป่าชายเลนอันสมบูรณ์กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา โดยมีสมาชิกชมรมฯ เป็นผู้แจวเรือนำเที่ยว เป็นการท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ อันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านสลักคอก ต.เกาะช้างใต้ อ.เกาะช้าง จ.ตราด เพื่อนักท่องเที่ยวที่มีรสนิยมรักธรรมชาติและความสงบในด้านรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ที่มาช่วยเป็นพี่เลี้ยง ทำกันแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้การท่องเที่ยวกลายเป็นตัวทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของผู้คนที่นี่ พยายามรักษาวิถีชุมชนดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุดแม้กระทั่งการสื่อสารของชาวบ้านก็ให้มีการสื่อสารด้วยภาษามือ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีใคร สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ หากมีการสอนให้ชาวบ้านพูดภาษาอังกฤษกันปร๋อก็จะเป็นการขาดเสน่ห์แบบบ้านๆ สำหรับกิจกรรมที่ให้บริการคือ การนั่งเรือเที่ยวชมป่าชายเลนโดยใช้ "เรือมาด" เป็นพาหนะที่นักท่องเที่ยวบาง คนขนานนามว่า "กอนโดล่าแห่งเกาะช้าง*" มีจำนวน 7 ลำ เป็นการท่องเที่ยวแบบครอบครัว และ เรือคายัค จำนวน 10 ลำ สำหรับการท่องเที่ยวแนวผจญภัย ไม่ว่าจะเรือแบบไหนก็เน้นเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว/p>

ตราด
ชมรมนำเที่ยวพื้นบ้านสลักคอก 25/5 บ้านสลักคอก ต.เกาะช้างใต้ อ.เกาะช้าง จ.ตราด 23170
สินค้า

กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านน้ำเชี่ยว

บ้านน้ำเชี่ยว สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไป ขึ้นเรือสู่เกาะช้าง หมู่บ้านน้ำเชี่ยวแห่งนี้ ยังได้เป็นรับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OVC” (OTOP Village Champion) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมถึงรางอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นจากากรท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บ้านน้ำเชี่ยวมี พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิด อยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยวและได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทย เชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้ ซึ่งพี่น้องทั้งสองศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมาที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิดอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมง พื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบันชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย/p>

ตราด
ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด 23120
สินค้า

ตังเมกรอบ

บ้านน้ำเชี่ยวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไป ขึ้นเรือสู่เกาะช้าง หมู่บ้านน้ำเชี่ยวแห่งนี้ ยังได้เป็นรับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OVC” (OTOP Village Champion) รางวัลอุตสาหรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อคือตังเมกรอบ หรือคนสมัยก่อนเรียกว่า “ขนมน้ำตาลชัก” เป็นขนมหวานที่มีแหล่งผลิตดั้งเดิมอยู่ที่บ้านน้ำเชี่ยว มีรูปร่างคล้ายแท่งไม้แห้ง สีน้ำตาลอ่อน เป็นขนมหวานสำหรับทานเล่น/p>

ตราด
ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด 23120