การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกำลังเป็นกระแสที่สำคัญ จากการที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยมมากขึ้น ภาคธุรกิจก็พยายามพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภาครัฐ และหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆ ก็ได้พัฒนานโยบายที่สนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเช่นกัน แต่ “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” จริงๆ แล้วแปลว่าอะไร จะวัดได้อย่างไรและจะมีหลักประกันอะไรที่แสดงถึงความยั่งยืน เพื่อจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจ สนันสนุนประโยชน์ต่อชุมชน และป้องกันการแอบอ้างความยั่งยืน อพท. จึงร่วมกับองค์กร Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล และเป็นองค์กรอาสาสมัครซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้การสนับสนุนด้านความรู้ในการสร้างความยั่งยืนให้แก่แหล่งท่องเที่ยว โดยมีองค์กรผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในด้านต่างๆ เป็นภาคีร่วมทำงาน โดยบทบาทหน้าที่ขององค์กร GSTC ประกอบด้วย 1) การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสากล 2) ร่วมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3) พัฒนาตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4) ให้ความรู้ ความเข้าใจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 5) ให้การรับรองเกณฑ์มาตรฐาน โดย อพท. นำเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษให้เกิดความยั่งยืน โดยเกณฑ์ GSTC ครอบคลุมมิติการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่