เป็นสถานที่สำหรับเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ โดยสถานีรถไฟแห่งนี้ให้บริการการเดินทางโดยรถไฟ ตัวอาคารมีรูปแบบการก่อสร้างผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกับสถาปัตยกรรมยุโรป เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้
ตั้งอยู่ในเขตบ้านวังหลวง ผ่านตัวหมู่บ้านเข้าไป ลักษณะเป็นธารน้ำตกที่คงความเป็นธรรมชาติ ธารน้ำมีความใสสะอาด มีเส้นทางเดินเท้าไปตามแนวน้ำตกได้เรื่อยๆ มีบางจุดที่สามารถลงเล่นน้ำได้
อ่างเก็บน้ำแม่ธิเกิดขึ้นจากอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่9 ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 บ้านดอยเวียง ตำบลบ้านธิ ห่างจากตัวอำเภอบ้านธิ ประมาณ 5 กิโลเมตร สันเขื่อนกว้าง 470 เมตร ยาวประมาณ 6 กิโลเมตร บรรจุน้ำ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้ในพื้นที่การเกษตร 5,000 ไร่ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทัศนียภาพสวยงาม ทิวทัศน์ภูเขาสวยต้นไม้เขียวขจี น่ารื่นรมย์ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/3827
แก่งก้อ ตั้งอยู่ ในอุทยานแห่ชาติแม่ปิง ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นทะเลสาบเที่เกิดขึ้นมาจากผลพวงจากการสร้างเขื่อนภูมิผลอยู่ทางตอนบน ของเขื่อน แก่งก้อเป็นเวิ้งน้ำขนาดใหญ่เกิดจากลำห้วยแม่ก้อไหลมาบรรจบแม่น้ำปิง ที่นี่มีบรรยากาศที่สวยงามทิวทัศน์และบรรยากาศโดยรอบ ของทะเลสาบแก่งก้อที่ห้อมล้อมด้วยขุนเขา มีบรรยากาศต้นไม้ที่เขียวขจีเหมาะแก่การพักผ่อนกับธรรมชาติท่ามกลางทะเลสาบ นักท่องเที่ยวสามารถ พักเรือนแพชมวิวหรือจะนั่งเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำปิงซึ่งมีเขาหินปูนถูกกัดเซาะ เกิดหินงอกหินย้อยอย่างงดงาม มีสัตว์น้ำดำรงค์ชีวิตอยู่มากมาย โดยเฉพาะปลานาๆ ชนิด และนกกินปลาที่บินไปมาสามารถมองเห็นได้ ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/3835
ผาหล่มสัก อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของอุทยานฯ เป็นจุดชมวิวที่มีชื่อเสียงของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง บริเวณจุดชมวิวผาหล่มสักจะมองเห็นทิวทัศน์ของอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อผาหล่มสัก และที่สำคัญผาหล่มสักจะเป็นจุดที่มีชื่อเสียงของการดูพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งจะเป็นโปรแกรมหลักที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จะพลาดไม่ได้ ที่มา : เว็บไซต์ https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/3845
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองศรีสะเกษ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดเพียงเล็กน้อย เดิมตั้งอยู่ที่สี่แยกถนนเทพาตัดกับถนนหลักเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดเพียงเล็กน้อย มีสภาพชำรุดทรุดโทรมไม่เหมาะแก่การประกอบพิธีกรรม ดังนั้นในปี พ.ศ. 2529 ทางจังหวัดจึงได้ก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมยกฐานสูง เป็นแบบจตุรมุข ประดับด้วยหินอ่อนและกระจกสีอย่างงดงาม จั่วหน้าด้านทิศใต้ประดิษฐานตราสัญลักษณ์ "กาญจนาภิเษก" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เนื่องในวโรกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ลักษณะเสาหัวเม็ดทรงมัณฑ์ นับเป็นศาลหลักเมืองที่สวยงามแห่งหนึ่งในประเทศไทย จังหวัดศรีสะเกษ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดศาลหลักเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2530
นางเสือง หรือที่ชาวสุโขทัยนิยมเรียกว่า พระแม่ย่า คือพระมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระมารดาของพ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวไว้ว่า “...เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย...” คำว่า "พระขพุงผี" แปลว่าผีที่เป็นใหญ่กว่าผีทั้งหลาย ซึ่งมีการตีความว่าเป็น ผีพระแม่ย่า หรือนางเสืองนั่นเอง สาเหตุที่เรียกว่า "พระแม่ย่า" เนื่องจากคนสมัยก่อนนับถือกษัตริย์ว่าเป็นพ่อ ดังนั้นแม่ของพ่อ (กษัตริย์) จึงเรียกว่า ย่า แปลโดยรวมว่า ย่าผู้เป็นแม่ของพระมหากษัตริย์ ต่อมามีการค้นพบเทวรูปที่สันนิษฐานว่าเป็นรูปสลักนางเสืองอยู่ที่ถ้ำพระแม่ย่าบนเขาพระแม่ย่า ในอุทยานแห่งชาติรามคำแหง และนำมาประดิษฐานไว้ที่ศาลพระแม่ย่าที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัยจวบจนปัจจุบันนี้ ของที่นิยมนำมาถวายแก้บนเทวรูปพระแม่ย่าคือ ขนมหม้อแกง ทางจังหวัดสุโขทัยจะมีการจัดงานสักการะพระแม่ย่าพร้อมกับงานกาชาดราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ทุกๆ ปี ปัจจุบันมีการนำลักษณะเครื่องแต่งกายของเทวรูปพระแม่ย่าไปประยุกต์เป็นชุดของนางระบำในระบำสุโขทัย
ปราสาทตาเมือนธม เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลง มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับ อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้
หมู่บ้านทำยาสูบ ตั้งอยู่บริเวณ บ้านโพนสา ถ.ชลประทาน ต.โพนสา อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เดินทางจากตัว อ.เมืองหนองคายไปยัง อ.ท่าบ่อ ระยะทาง ประมาณ 20 กิโลเมตร การเดินทางสะดวกสามารถใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลหรืจะใช้บริการรถโดยสาร บริเวณแหล่งท่องเที่ยวจะพบเห็นไร่ยาสูบเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชน ชุมชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพปลูกยาสูบเป็นหลัก จะเห็นแต่ละหลังคาเรือนมีการตากใบยาสูบ โดยการหั่นใบยาสูบแล้วนำออกตากบริเวณบ้านของตัวเอง สร้างความสนใจให้กับผู้พบเห็น การทำยาสูบถือว่าเป็นอุตสาหกรรมในหมู่บ้าน เป็นวิถีชีวิตที่มีการสืบทอดมานาน มีกิจกรรมต่างๆตั้งแต่เริ่มเตรียมดินปลูก การดูแล จนถึงการเก็บเกี่ยวและขนส่ง มีขั้นตอนการแปรรูปที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับพื้นที่ มีโรงบ่มใบยาสูบโดยภูมิปัญญาดั้งเดิม จนถึงโรงบ่มที่นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาจัดการ โดยจะพบเห็นได้ทั่วไปภายในหมู่บ้าน ทำให้เป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจแวะเข้าชมหมู่บ้านยาสูบ