“พังงา” เคยมีอดีตกาลอันยาวนานเพียงใด สามารถบอกได้จากโบราณสถานทุ่งตึกบนเกาะคอเขา ซึ่งเชื่อว่าที่นี่เคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาก่อน เนื่องจากมีการค้นพบซากเมืองโบราณและข้าวของเครื่องใช้มากมาย นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าในสมัยก่อน พังงาได้ชื่อว่าเป็น "เมืองชุมทางการค้าขายที่สำคัญ" และมีบันทึกต่างๆ เกี่ยวกับเมืองนี้ไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ของชาวกรีกที่ชื่อคลอดิอุสปโตเลมี ได้กล่าวว่ามีเมืองการค้าเจริญรุ่งเรืองอยู่เมืองหนึ่งในแถบนี้คือ "เมืองตะโกลา" อันเป็นศูนย์กลางทางการค้าขายสองฝั่งทะเล และเชื่อกันว่าเมืองตะโกลานั้น ปัจจุบันคือ บริเวณบ้านทุ่งตึกนั่นเองสำหรับที่มาของคำว่า “ทุ่งตึก” หรือ “เมือง ทอง” ที่มา : http://www.tourismplatform.org/phangngasmarttravel/th/places-detail/2410/10
- หินปูซาร์หรือหินหัวกะโหลก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสิมิลัน มีลักษณะเป็นกองหินรูปร่างคล้ายหัวกะโหลกอยู่เหนือน้ำ ใต้น้ำมีหินเป็นโพรงเป็นช่องให้นักท่องเที่ยวดำน้ำชมปะการัง ดูปลา ที่มา : https://www.travelthaiblog.com/2019/09/Ko-BaNgu.html
พระมหาธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ มีประวัติความเป็นมาคือ ครั้งพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุเริ่มขึ้นในมาฆบูชา วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 นำศรัทธาสร้างพระมหาธาตุเจดีย์บวรชินรัตน์และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดย นาวาเอกจุลินทร์ เหลือนาค พร้อมด้วยบรรดาศิษยานุศิษย์จากโรงเรียนเตรียมทหาร และพุทธศาสนิกชน สาธุชนทุกสัมมาชีพ ทุกสารทิศ ให้เป็นอนุสรณ์สถานแด่พระครูบวรชินรัตน์ (หลวงพ่อม้วน สุดเกตุ) อดีตเจ้าอาวาสวัดนางพญาพิษณุโลก ผู้ดำริให้แนวศรัทธาสร้างไว้ซึ่งขณะนี้ รูปหล่อโลหะเหมือนของท่าน ประดิษฐาน ณ ศาลาบวรชินรัตน์ เขาสมอแคลง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกเช่นกัน
สถานที่หมู่บ้านหุบกะพง เป็นแนวพระราชดำริด้านการพัฒนาการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เน้นการแก้ปัญหาโดยให้การเกษตรกรมีส่วนร่วมกับหน่วยงานรัฐ ทรงมุ่งหมายให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ มีความสามัคคี การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจนรุ่นลูกรุ่นหลานและแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานที่เหมาะสมกับเกษตรกรและสภาพของพื้นที่ ปัจจุบันมีจำนวน 4,000 โครงการ โดยมีชื่อเรียกต่างๆกันไป ดังนี้ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง โครงการตามพระราชดำริ หุบกะพงตั้งอยู่ในตำบลเขาใหญ่และตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบุรีประมาณ 40 กิโลเมตร แต่ถ้ามาทางอำเภอหัวหิน 34 กิโลเมตร เส้นทางเข้าถึง จากแยกหุบกะพงเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวประมาณ 3 กิโลเมตร
เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ภายในมีห้องโถงกว้าง 40,000 ตารางเมตร และมีถ้ำขนาดเล็ก แยกไปหลายถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม บางจุดมีน้ำหยดลงพื้นถ้ำตลอดเวลาเกิดเป็นหินงอก ภายในถ้ำยังมีค้างคาว แมลงต่างๆ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี อีกแห่งหนึ่ง มีศาลาชมวิว 2 แห่ง และบันไดขึ้น - ลงถ้ำเขาเตาหม้อ ปัจจุบันนี้ ถ้ำเขาเตาหม้อ เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม ทุกวัน ตั้งแต่ เวลา 08.30 – 16.30 น ที่มา : https://www.thailandexhibition.com/Eat-Travel/928
เป็นโครงการพระราชดำริ เพื่อศึกษาวิจัยเทคโนโลยีการกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชนและนำผลไปพัฒนาเทคโนโลยีการกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสียพร้อมทั้งสร้างรูปแบบการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมักจากการกำจัดขยะและน้ำเสียที่บำบัดแล้วรวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการฯ เพื่อศึกษาวิจัยทางด้านสังคม อันได้แก่ รูปแบบของสังคมการประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาของโครงการฯ และนำผลไปประยุกต์ใช้สร้างแบบจำลองทางสังคม การประชาสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมศึกษา ในแยกขยะก่อนทิ้งและการบำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงสู่ท่อระบายน้ำ เพื่อสร้างคู่มือและสื่อเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ในการเผยแพร่เทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์การกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชน และการจัดอบรม ประชุม สัมมนา ให้ความรู้แก่ประชาชนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/3643
หอยสมัยหิน มีลักษณะคล้ายหอยสังข์จำนวนมาก ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ 40 ฟุต พบที่โคกหินแดง บ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จากการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณีโดยนำหอยไปวัดความหนาแน่นแล้วทำให้ทราบว่าเปลือกโลกบริเวณนี้มีอายุประมาณ 27ล้านปี ซึ่งขุดพบเป็นแห่งที่ 3 ของโลกเหมาะสำหรับผู้สนใจทางด้านธรณีวิทยา ที่มาจากเว็บไซต์ http://www.painaidii.com/business/119702/album/lang/th/
วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) วัดที่สร้างจากขวด วัดที่สวยงามตระการตาแห่งนี้สร้างด้วยสมองและสองมือของพระและสามเณรที่มีความเพียรพยายามเป็นเลิศอย่างคาดไม่ถึงเพราะว่า เป็นวัดที่สร้างด้วยขวดหลากหลายชนิดนับล้านๆ ใบทีเดียว และได้มีการตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว” หรือ “วัดล้านขวด”
ตลาดบ้านเพเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์จากทะเล เป็นศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ชุมชนเต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ ของวิถีชีวิตชาวประมง ซึ่งบริการนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวนิยมมาจับจ่ายสินค้าไปเป็นของฝากจาก จ.ระยอง และยังเป็นศูนย์กลางเรือโดยสารที่จะข้ามไปเที่ยวยังเกาะต่างๆอีกด้วยโดยเฉพาะ เกาะเสม็ด