Sustainable

Tourism Information System

ATTRACTION

ค้นหาตามสำนักงานพื้นที่พิเศษ อพท.

ค้นหาตามเขตพัฒนาการท่องเที่ยว

จำนวนทั้งหมด 329 รายการ
สำนักงานพื้นที่พิเศษ 7

วัดเขมาภิรตาราม

ประเภท : ทางประวัติศาสตร์

วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกทิ้งร้างไปนานจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 2 กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์บรมราชินี ทรงปฏิสังขรณ์ทรงปฏิสังขรณ์บำเพ็ญพระกุศลเป็นอันมากเรียบร้อยแล้วให้ฉลองสมโภช เมื่อ พ.ศ. 2371 และขนานนามว่า “วัดเขมา” ต่อมารัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณปฏิสังขรณ์ ในวันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2406 ได้เสด็จฉลองวัดเขมาภิรตาราม แล้วพระราชทานนามว่า “วัดเขมาภิรตาราม” ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระตำหนักแดง อนุสรณ์กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระที่นั่งมูลมณเฑียร ซึ่งเดิมเป็นพระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชอุทิศ ให้รื้อมาปลูกในวัดนี้ สถานภาพของวัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชั้น วรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ที่ 8 ถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี อยู่ด้านใต้ตัวเมืองนนทบุรีริมฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ 26 ไร่ ห่างจากสะพานพระราม 7 ไปทางทิศเหนือตามถนนพิบูลสงครามประมาณ 1.7 กิโลเมตร

สำนักงานพื้นที่พิเศษ 7

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก

ประเภท : ทางศิลปะวิทยาการ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนภิเษก เป็นโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้านชาติพันธุ์วิทยา กำเนิดจากนโยบายของกรมศิลปากร ภายใต้แนวคิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มุ่งเน้นการกระจายความเจริญจากกลางใจเมืองออกสู่ชานเมือง และการเติมเต็มความสมบูรณ์ของการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา ต่อมา กรมศิลปากรได้ปรับพื้นที่โดยผนวกพิพิธภัณฑสถานเฉพาะด้านสาขาอื่นๆ และอาคารปฏิบัติการในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานที่โยกย้ายออกจากกรุงเทพมหานคร มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อเตรียมจัดตั้งพื้นที่ทั้งโครงการให้เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติรัชกาล-ที่ 9 แหล่งเรียนรู้สหสาขาวิชา ที่ครอบคลุมความรู้เรื่องเกี่ยวกับคนไทย ทั้งชาติพันธุ์วิทยา วัฒนธรรม ศิลปะ และธรรมชาติวิทยา ที่สามารถเอื้อประโยชน์การเรียนรู้แก่สังคมได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นเสมือนประตูเข้าสู่ภูมิภาค ให้ความรู้แก่อาคันตุกะเป็นบทนำก่อนเดินทางไปท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆของประเทศ ที่มา : https://www.museumthailand.com/th/museum/kanjanaphisek-National-Museum

สำนักงานพื้นที่พิเศษ 8

วัดตาลเจ็ดยอด (หลวงพ่อโต)

ประเภท : ทางประวัติศาสตร์

หลวงพ่อโต วัดตาลเจ็ดยอด ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านตาลเจ็ดยอด ตำบลศาลาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ชื่อวัดตั้งตามชื่อหมู่บ้าน ตาลเจ็ดยอด คำว่า “ตาลเจ็ดยอด” น่าจะมีที่มาจาก เดิมที่มีต้นตาลเจ็ดยอด แต่ถูกตัดไประหว่างการสร้างทางรถไฟสายใต้ก่อนปีพ.ศ. 2500 เหตุเพราะตาลต้นดังกล่าวขวางทางรถไฟ ดังนั้นผู้สร้างทางรถไฟจึงทำให้ต้นตาลตายโดยวิธีธรรมชาติแล้วตัดทิ้ง บริเวณวัดตั้งอยู่ท่ามกลางท้องนา เมื่อเข้าไปในซอยจะเห็น (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี) องค์รูปเหมือนขนาดใหญ่ หล่อจากโลหะทองเหลือง ขนาดหน้าตักกว้าง 11 เมตร สูง 18 เมตร มีน้ำหนักถึง50,000 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็น รูปหล่อองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/3534

สำนักงานพื้นที่พิเศษ 8

อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด (จุดชมวิวเขาแดง)

ประเภท : ทางธรรมชาติ

จุดชมวิวเขาแดง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสามรร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ชื่อเขาแดงเพราะว่าบริเวณนั้นเป็นภูเขาสีแดงจึงได้ชื่อว่าเขาแดง จุดนี้เป็นจุดชมวิวที่เหมาะกับการดูพระอาทิตย์ขึ้นจากทะเล เวลาที่เหมาะแก่การขึ้นชมวิวคือ 05.30-07.00 น. เนื่องจากสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและทัศนียภาพโดยรอบๆ เขาสามร้อยยอดและหมู่บ้านได้อย่างสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นวิวเขาสามร้อยยอด ชายหาดสามพระยา บ้านเรือนต่างๆ คลองเขาแดง บ้านชาวประมง ฯลฯ ใกล้เชิงเขาแดงมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/3535

สำนักงานพื้นที่พิเศษ 7

พิพิธภัณฑ์เรือไทย

ประเภท : ทางประวัติศาสตร์

อาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลา เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฆ์เรือไทย เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๗ ด้วยจิตวิญญาณที่ผูกพันกับสายน้ำและเรือมาตั้งแต่วัยเด็ก อีกทั้งยังได้เป็นอาจารย์ผู้สอน วิชาออกแบบ เขียนแบบ และการต่อเรือ มาตลอดชีวิตที่รับราชการ ณ โรงเรียนช่างต่อเรือ ( ปัจจุบัน วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่อเรือ) ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑ จนถึงเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ได้เล็งเห็นว่าความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การคมนาคมและการขนส่งของประเทศ จะทำให้การใช้เรือในอนาคตน่าจะน้อยลง และไม้ที่เป็นวัสดุหลักในการต่อเรือจะหมดไปอนุชนรุ่นหลังจะไม่รู้จักเรือไทย และเรือพื้นบ้าน ท่านจึงได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เรือไทยขึ้น ณ บ้านพักในยุคแรก เพื่ออนุรักษ์และเป็นแหล่งเรียนรู้ เรื่องเรือไทย ให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนผู้สนใจ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยอาจารย์ได้เสียสละเงินบำนาญ และเงินที่ได้จากการขายที่นา สองไร่ในจังหวัดปทุมธานี มาก่อสร้างบริเวณบ้านพักเพิ่มเติมให้เป็นพิพิธภัณฑ์เรือไทย นอกจากนี้ ท่านยังได้เขียนหนังสือ “เรือไทย” ขึ้นหนึ่งชุด จำนวน ๔ เล่ม เพื่อการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเรือไทยประเภทต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ที่จะให้พิพิธภัณฑ์เรือไทย เป็น ประกอบด้วยส่วนจัดแสดง 3 ส่วนได้แก่ 1.อาคารเรือโบราณ จัดแสดงเรือโบราณ ซึ่งเคยใช้งานจริงในอดีต บางลำมีอายุกว่าร้อยปี เช่น เรือชะล่า ไม้สัก ยาว 8.5 เมตร 2. อาคารทรงไทย ทำด้วยไม้สักทอง จัดแสดงเรือจำลองประเภทต่างๆ ได้แก่ เรือพระราชพิธีจำลอง เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช 3. บริเวณภายนอกอาคาร ซึ่งจัดแสดงเรือขนาดใหญ่ กลางแจ้ง เช่น เรือกระแชงต่อด้วยไม้สัก เป็นเรือซึ่งใช้บรรทุกข้าวเปลือก เป็นต้น ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/3570