เกาะสะเก็ดเพชร เป็นเกาะที่ ได้รับสัมปทาน ทำเป็นรีสอร์ท อยู่ห่างจากชายฝั่ง โดยนั่งเรือ จากหาดทรายทอง ประมาณ 15 นาที บนเกาะ มีทิวทัศน์สวยงาม ยามน้ำลด จะเห็นหาดทราย ยื่นไปในทะเล เป็นแนวยาว มีแนวปะการังที่สวยงาม แม้จะเป็นเกาะเล็กๆ แต่เมื่อในอดีต เกาะสะเก็ดคือเกาะที่ได้รับความนิยมของหมู่นักท่องเที่ยว เพราะมีทิวทัศน์ที่สวยงาม ธรรมชาติที่สมบูรณ์ด้วยต้นไม้อันเขียวขจี ที่โอบล้อมด้วยน้ำทะเลสีคราม เมื่อยามน้ำลดจะเห็นหาดทรายสีขาวยื่นออกไปในทะเลเป็นแนวยาว นอกจากนี้เกาะสะเก็ดยังมีแนวหินที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หอยแมลงภู่ หอยจอบและหอยนางรม อีกทั้งยังเป็นแหล่งปะการังที่มีมากถึง 41 ชนิด และเป็นแหล่งปะการังที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งในประเทศไทย
ตลาดทุ่งเกวียน เป็นศูนย์รวมอาหารพื้นเมืองไม่ว่าจะเป็น แค็ปหมู น้ำพริกหนุ่ม ซึ่งมีรสชาติอร่อยถูกใจใครหลายๆ คนอย่างต่อเนื่อง สินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านจากฝีมืออันประณีต อาทิเช่น สิ่งทอ เครื่องเหล็ก เครื่องใช้ไม้แกะสลัก และ เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น นอกจากนักท่องเที่ยวจะแวะซื้อหาของฝากหลากหลายแล้ว สามารถแวะพักรับประทานอาหารกลางวันได้ด้วย
พระพุทธบาทถ้ำผาบิ้ง อยู่บริเวณวัดถ้ำผาบิ้ง บ้านผาบิ้ง ตำบลนาแก เมื่อนักท่องเที่ยวเดินเข้าไปในถ้ำจะมองเห็นพระพุทธบาทขนาดใหญ่อยู่บนเพดานถ้ำ ลวดลายและนิ้วพระบาทไม่ปรากฏเด่นชัด ขนาดกว้าง 2 ฟุต ยาว 3 ฟุต
ถ้ำโพธิสัตว์ เป็นถ้าที่มีถ้ำเล็กถ้ำน้อยเรียงรายกันอยู่ภายในกว่า 15 คูหา -มีหินงอกหินย้อยที่มีรูปร่างสวยงาม แปลกตา -เหมาะกับการศึกษาธรรมชาติ -เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ นักท่องเที่ยวควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำชมสวนหินผางามที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเนื่องจากภายในถ้ำมีลักษณะเป็นวงกตซับซ้อน ถ้าเข้าไปเที่ยวเองอาจจะหลงในถ้ำได้ ค่านำชมประมาณ 100 บาท สอบถามเพิ่มเติมที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหิน โทร. 08 1462 1719 ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ที่เป็นลักษณะออกไปทางธรรมชาติ โดยเฉพาะหน้าฝนน้ำจะใหลผ่านฝายคล้ายกับน้ำตกส่วนมาหนุ่มสาวชอบไปเที่ยวกันมาก
บ่อน้ำร้อนถ้ำสิงขร ก่อนถึงวัดถ้ำสิงขร มีทางแยกซ้ายมือเป็นประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของบ่อน้ำร้อนทั้งหมด 8 บ่อ ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ บ่อที่ร้อนที่สุดมีอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส
อยู่ในท้องที่ตำบลคำหยาด ถัดจากวัดโพธิ์ทอง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กม. บนถนนสายเดียวกัน ตัวอาคารตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา ก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร สภาพปัจจุบันมีเพียงผนัง 4 ด้าน แต่ยังคงเห็นเค้าความสวยงามทางด้านศิลปกรรม เช่น ลอดลายประดับซุ้มจรนำหน้าต่าง ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า เมื่อ พ.ศ. 2451 ได้เสด็จมายังโบราณสถานแห่งนี้และทรงมีพระราชหัตถเลขาอรรถาธิบายไว้ว่า เดิมทีทรงมีพระราชดำริว่า ขุนหลวงหาวัด (เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต) ทรงผนวชที่วัดโพธิ์ทองแล้วสร้างพระตำหนักแห่งนี้ขึ้นเพื่อจำพรรษา เนื่องจากมีชัยภูมิที่เหมาะสม ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นตัวพระตำหนักสร้างด้วยความประณีตสวยงามแล้วพระราชดำริเดิมก็เปลี่ยนไป ด้วยทรงเห็นว่าไม่น่าที่ขุนหลวงหาวัดจะทรงมีความคิดใหญ่โต สร้างที่ประทับชั่วคราวหรือที่มั่นในการต่อสู้ให้ดูสวยงามเช่นนี้ ดังนั้น จึงทรงสันนิษฐานว่า พระตำหนักนี้คงจะสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เพื่อเป็นที่ประทับแรมเนื่องจากมีพระราชนิยมเสด็จประพาสเมืองแถบนี้อยู่เนือง ๆ เช่นเดียวกับที่พระเจ้าปราสาททองทรงสร้างที่ประทับไว้ที่บางปะอิน ขณะที่กรมขุนพรพินิตผนวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐ์ ได้ทรงนำข้าราชบริพารกับพระภิกษุที่จงรักภักดีต่อพระองค์ ออกจากพระนครศรีอยุธยามา จำพรรษาที่ วัดโพธิ์ทอง และประทับอยู่ที่พระตำหนักคำหยาดนี้เพื่อไปสมทบกับชาวบ้านบางระจัน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้บูรณะ และขึ้นทะเบียนพระตำหนักคำหยาดเป็นโบราณสถานไว้แล้ว ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/3014
ปราสาททองหลาง เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นปรางค์ ก่อด้วยอิฐ 3 หลัง ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ – ใต้ บนฐานศิลาแลงเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทหลังกลางมีขนาดใหญ่กว่าปราสาทอีกสองหลังที่ขนาบข้าง จากลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานได้ว่าปราสาททองหลางมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16–17 เทียบได้กับศิลปะเขมรแบบบาปวน (พ.ศ. 1550-1620) กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2525 พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา ปราสาททองหลางเป็นโบราณสถานที่รับอิทธิพลวัฒนธรรม-เขมรโบราณที่พบไม่มากนัก ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยอิฐผสมปูนขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 4.36 เมตร มีอายุเก่าแก่ และเป็นที่เคารพนับถือ ของประชาชนไทยและลาว ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระโต บ้านปากแซง ตามประวัติเล่าว่ามีกษัตริย์สมัยขอมพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยาแข้วเจ็ดถัน ได้เสด็จล่องเรือลงมาตามลำแม่น้ำโขงในฤดูฝน พอถึงบ้านปากแซงก็ค่ำลง จึงได้หยุดประทับแรม 1 คืน วันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปยังหมู่บ้าน และได้พบกับเจ้ากวนของหมู่บ้านในสมัยนั้น พระยาแข้วเจ็ดถัน ได้ตรัสถามถึงประวัติของหมู่บ้าน เจ้ากวนได้เล่าให้ฟังว่า บ้านนี้มีหาดสวยงามกว้างใหญ่ ในฤดูแล้ง หาดทรายจะโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ และหาดทรายแห่งนี้มีสิ่งอัศจรรย์อยู่คือ ถ้าปีใดหาดทรายโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำระหว่างหมู่บ้าน ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อพระองค์ได้ทราบก็เกิดศรัทธาในใจว่า สักวันหนึ่งจะต้องย้อนกลับมาสร้างหมู่บ้านนี้ให้เป็นเมือง ในราว พ.ศ. 1154 พระองค์ ก็ได้เสด็จมา พร้อมด้วยข้าทาสบริวารเป็นจำนวนมาก เมื่อเสด็จมาถึง พระองค์จึงได้มอบให้เจ้าแสง ซึ่งคงจะเป็นนายชั้นผู้ใหญ่ เป็นคนควบคุมการก่อสร้างพร้อมกันนี้ก็ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 1180 และขนานนามว่า พระอินทร์ใส่โฉม (ต่อมาเรียก พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ) เมื่อเจ้าแสงถึงแก่กรรมลง ชาวเมืองได้สร้างหอหลักเมืองขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ และขนานนามว่า หอแสง ต่อมาวัดแห่งนี้ก็ขาดคนบูรณะ และกลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ควาญช้างในหมู่บ้านนี้ ได้ไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว และได้บอกบุญชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งและต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดพระโต”